รู้จักพลังงาน

พลังงานแสงอาทิตย์

“แสงอาทิตย์” เป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นพลังงานสะอาดและมีอยู่ทั่วไป แต่การนำมาใช้ประโยชน์อาจยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากแสงอาทิตย์มีเฉพาะในตอนกลางวัน ตลอดจนมีความเข้มของแสงที่ไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและฤดูกาลที่เปลี่ยนไป พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนชนิดหนึ่งที่เป็นพลังงานหมุนเวียนใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด แม้จะมีต้นทุนที่สูงเมื่อเทียบกับต้นทุนอื่นในการผลิตพลังงาน อย่างไรก็ตาม ภายหลังพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจมากขึ้น จนนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆให้มีประสิทธิภาพสูง และมีราคาที่ถูกลง อีกทั้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และการดูแลบำรุงรักษาทำได้ง่าย และที่สำคัญไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่การใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการผลิต แม้การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะมีข้อจำกัด แต่ก็ยังมีความจำเป็นต่อการจัดหาพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการและบูรณาการการผลิตไฟฟ้าร่วมกับแหล่งพลังงานพร้อมใช้ อย่างก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งนับวันมีแต่จะหมดไป ดังนั้น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันจึงมีบทบาทสำคัญและเป็นทางเลือกที่จำเป็น

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จะเป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลก นำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และในทันทีที่มีแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานประกอบ ที่เรียกว่า Photon จะถ่ายเทพลังงานให้กับ Electron ในสารกึ่งตัวนำ จนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของ Atom และสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่อ Electron มีการเคลื่อนที่ครบวงจร ก็จะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น องค์ประกอบหลักของ “เซลล์แสงอาทิตย์” คือ สารกึ่ง ตัวนำ (Semi Conductors) 2 ชนิด มาต่อกัน ซึ่งเรียกว่า P-N Junction เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ ก็จะถ่ายพลังงานให้อะตอมของสารกึ่งตัวนำ ทำให้เกิดอีเลคตรอนส์และโฮลส์อิสระ ไปรออยู่ที่ขั้วต่อ ดังนั้นเมื่อมีการเชื่อมกับวงจรภายนอก เช่น เอาหลอดไฟฟ้ามาต่อคร่อมขั้วต่อ ก็จะเกิดการไหลของอีเลคตรอนส์/โฮลส์ ที่ให้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงกับวงจรภายนอกได้ และจะให้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่ยังมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

ข้อดี

    • เป็นพลังงานที่มีอย่างต่อเนื่อง
    • เป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
    • มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย
    • พลังงานแสงอาทิตย์ไร้ขีดจำกัด และจะไม่หมดไป

ข้อจำกัด

    • เป็นพลังงานที่มีอย่างต่อเนื่อง
    • เป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
    • มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย
    • พลังงานแสงอาทิตย์ไร้ขีดจำกัด และจะไม่หมดไป

พลังงานความร้อนจากขยะ

ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ และมีการกำหนดนโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อให้สามารถควบคุมหรือบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพ แต่ด้วยปัจจัยหลายๆด้าน ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเพื่อขึ้นทุกปี ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของประชากร สภาพเศรษฐิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบริโภคทำให้เกิดปริมาณขยะเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองและชุมชนขนาดใหญ่ จากปัญหาดังกล่างทำให้ รัฐบาล กำหนดนโยบายแปรรูปขยะให้เป็นพลังงาน พร้อมทั้งให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ โดยนำขยะมาแปรสภาพเป็นพลังงานในการผลิตกระเสไฟฟ้า เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและแก้ปัญหาขยะล้นเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะยังถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากประชาชนโดยรอบเกิดความไม่มั่นใจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และคิดว่าการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดทัศนคติในแง่ลบต่อโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ดังนั้นการดำเนินการด้านโรงไฟฟ้าจะต้อง ควบคู่ไปกับการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ชุมชน เพื่อสร้างความมั่งใจและลดความขัดแย้งเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่ ดังนี้

1. ควรทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ เพื่อขอฉันทามติก่อนดำเนินการ เพื่อลดความขัดแย้ง และสร้างความมั่งใจให้กับประชาชนในพื้นที่
2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับพลังงานจากขยะ ความจำเป็นหรือผลดีของการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ เช่น การนำขญะมาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน เพื่อลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ลดต้นทุนการผลิต ช่วยลดปริมาณขยะในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่มีงานทำ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน
3. ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและปลอดภัยในการดำรงชีวิต

ข้อดี

    • ใช้เชื้อเพลิงได้หลายชนิด โดยใช้เดี่ยวหรือผสมที่มีคุณภาพแตกต่างกันมากได้เพราะมีเวลาอยู่ในเบดนานจึง เผาไหม้ได้สมบูรณ์
    • เนื่องจากอุณหภูมิในเตาเผาต่ำ ทําให้ลดการกัดกร่อนและการเกาะของเถ้าหลอมเหลว บนพื้นผิวถ่ายโอนความร้อน (fouling)

ข้อจำกัด

    • ระยะเวลาเริ่มจุดเตาหรือหยุดเดินเตานาน
    • การทํางานของระบบป้อนผันแปรกับสมบัติของเชื้อเพลิงมาก
    • ไอน้ำเกิดการการสึกกร่อน (erosion) สูงจากการปะทะของอนุภาคและก๊าซ
    • ระบบจัดการกับเถ้าขนาดใหญ่ และยุ่งมาก

Wind Energy

ลมเป็นแหล่งพลังงานสะอาดชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีต้นทุนทางพลังงาน ที่สำคัญพลังงานลม ใช้ไม่มีวันหมด และกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลมยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม แต่การใช้พลังงานลมเพื่อการผลิตไฟฟ้าจะต้องมีความเร็วลมสม่ำเสมอ ทั้งนี้ทางภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ของประเทศเวียดนาม ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ในส่วนของพลังงานลม

เวียดนามได้รับการประเมินจากธนาคารโลกว่ามีศักยภาพในการพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงามลมถึง 27 กิกะวัตต์ เนื่องจากมีพื้นภูมิประเทศที่เป็นแนวชายฝั่งยาว และด้วยศักยภาพดังกล่าว จึงทำให้รัฐบาลเวียดนามกำหนดให้จังหวัดนินห์ถ่วนเป็นศูนย์เป็นศูนย์กลางด้านพลังงานหมุนเวียนของประเทศ

ข้อดี

    • เป็นแหล่งพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ ไม่มีต้นทุน
    • เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดสิ้น และไม่ถูกกระทบโดยราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิล
    • เป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากมลพิษอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
    • ไม่กินเนื้อที่ โดยที่ด้านล่างยังใช้พื้นที่ได้อยู่
    • มีแค่การลงทุนครั้งแรก ไม่มีค่าเชื้อเพลิง
    • สามารถใช้ระบบไฮบริดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ กลางคืนใช้พลังงานลมกลางวันใช้พลังงานแสงอาทิตย์
    • ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานทดแทนโดยเฉพาะลม และรัฐบาลส่งเสริมให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนจำนวนมาก จึงได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน เช่น สิทธิประโยชน์ด้านภาษี เป็นต้น

ข้อจำกัด

    • ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ บางฤดูอาจไม่มีลม
    • ต้องใช้แบตเตอรี่ราคาแพงเป็นแหล่งเก็บพลังงาน